ปลูกผมไม่ขึ้น เกิดจากอะไร? แก้ไขได้ไหม? หาคำตอบได้ที่นี่!
ปลูกผมไม่ขึ้น เกิดจากอะไร? แก้ไขได้ไหม? หาคำตอบได้ที่นี่!
แม้ว่าการปลูกผมจะเป็นวิธีที่ช่วยแก้ไขปัญหาผมบาง ศีรษะล้าน หรือหัวล้านกรรมพันธุ์ แต่ทั้งนี้ หลังการปลูกผม บางคนจะพบปัญหาเรื่องปลูกผมไม่ขึ้น ซึ่งก็เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ

โดยอาจเกิดได้จากหลายปัจจัยด้วยกัน ทั้งความเชี่ยวชาญของแพทย์, กราฟผมไม่มีคุณภาพ, อุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ปลูกผม, การดูแลตัวเองของผู้เข้ารับการปลูกผม รวมไปถึงปัจจัยที่คาดไม่ถึง เช่น โรคประจำตัว หรือยาที่ต้องรับประทาน ฯลฯ ล้วนเป็นสาเหตุที่ปลูกผมแล้วไม่ขึ้น

การปลูกผมเป็นวิธีแก้ไขปัญหาผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน ด้วยเทคนิคต่าง ๆ เช่น ปลูกผม FUT และปลูกผม FUE ซึ่งภาวะปลูกผมไม่ขึ้นนั้น เป็นปัญหาที่ไม่ปกติ แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยด้วยกัน

สำหรับในช่วงแรกหลังปลูกผม อาจมีเส้นผมร่วงได้เป็นเรื่องปกติ หรือที่เรียกว่า Shock Loss เป็นอาการที่เส้นผมเกิดความบอบช้ำ หยุดเจริญเติบโต ซึ่งอาจจะมีผมร่วงได้ประมาณ 2-8 สัปดาห์หลังปลูกผม แต่หลังจากนี้หลังจากพ้นระยะ 3-4 เดือนแรกหลังปลูกผมไป เส้นผมจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติและมีการงอกเส้นใหม่ขึ้นมา คือ 50% หลังจากที่ปลูกผมไปแล้วประมาณ 6 เดือน เส้นผมที่จะขึ้นเกือบเต็มทั้งหมดประมาณ 9-12 เดือนหลังปลูกผม และจะขึ้นเต็มที่ทั้งหมดประมาณ 18 เดือน

แต่หากระยะเวลาผ่านไปแล้วประมาณ 18 เดือน ยังไม่มีเส้นผมขึ้นใหม่อีกเลย นี่อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกแล้วว่าปลูกผมไม่ขึ้น ซึ่งท่านสามารถสังเกตอาการตามระยะเวลาได้ ดังนี้
* หลังจาก 12 เดือนไปแล้ว เส้นผมยังไม่มีทีท่าว่าจะขึ้น หรือขึ้นน้อยมาก ๆ นี่อาจแสดงให้เห็นว่าอาจมีความผิดปกติเกิดขึ้นในการปลูกผม
* หลังจาก 18 เดือนไปแล้ว หากไม่มีเส้นผมขึ้นหรือขึ้นน้อยมาก ไม่เป็นไปตามที่ได้พูดคุยกับแพทย์เจ้าของเคส ก็ถือว่าการปลูกผมไม่สำเร็จ ไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่คาดหวังเอาไว้
โดยทั่วไปแล้ว หากสังเกตตัวเองแล้วพบว่าเส้นผมไม่ขึ้นหรือปลูกผมแล้วไม่ขึ้นตามระยะเวลาที่ควรจะเป็น

ปลูกผมไม่ขึ้น เกิดจากสาเหตุใด
ปลูกผมไม่ขึ้นอาจเกิดได้จากหลายปัจจัย ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลให้ปลูกผมไม่ขึ้นได้ทั้งสิ้น ซึ่งอาจเกิดแค่ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยพร้อม ๆ กัน ซึ่งสาเหตุของปลูกผมไม่ขึ้นมี ดังนี้

1. ระยะเวลา - ระดับความลึก - การเจาะ/ตัดแบ่งกราฟ

  • ระยะเวลาปลูกผม - หากปล่อยให้กราฟผมอยู่นอกร่างกายนานเกินไป อาจทำให้เซลล์รากผมตายได้
  • ระดับความลึก - การปลูกผมต้องอยู่ในระดับความลึกพอดี หากลึกไปจะปลูกผมไม่ขึ้น หากตื้นไปกราฟผมจะหลุดได้
  • การเจาะกราฟผม - หากแพทย์ไม่มีความเชี่ยวชาญอาจทำให้กราฟผมได้รับความเสียหาย จนทำให้ปลูกผมไม่ขึ้นได้
  • การตัดแบ่งกราฟผม - หากไม่ระมัดระวัง อาจเซลล์รากผมถูกทำลาย จนทำให้ปลูกผมแล้วไม่ขึ้น
  • การคัดเลือกกราฟผม - หากแพทย์ไม่เชี่ยวชาญ และเลือกกราฟผมได้ไม่ดีพอ อาจทำให้เกิดปัญหากราฟผมไม่แข็งแรง ซึ่งส่งผลให้ปลูกผมไม่ขึ้น

ก่อนตัดสินใจปลูกผมและเลือกคลินิกปลูกผม แนะนำให้ตรวจสอบให้ดีว่า แพทย์และทีมงานผู้ช่วยมีความรู้ เรียนและได้รับการอบรมทางด้านปลูกผมเฉพาะทางหรือไม่ เพราะทุกขั้นตอนของการปลูกผมถาวรเป็นวิธีการที่ต้องอาศัยทักษะและประสบการณ์สูง เนื่องจากเป็นการผ่าตัดที่ละเอียดอ่อนมาก หากทำโดยแพทย์และทีมงานที่ไม่มีความชำนาญไม่เพียง จะเสี่ยงต่อการที่ปลูกผมไม่ขึ้น แต่จะไม่มีกราฟผมให้ปลูกซ้ำได้อีก

2. เทคนิคที่ใช้ในการปลูกผม
ในปัจจุบัน มีการปลูกผม 2 เทคนิคหลัก ๆ คือ ปลูกผม FUE FUT และ DHI ซึ่งแต่ละวิธีนั้นต่างก็มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน แต่ทั้งนี้ การปลูกผมไม่ว่าจะเป็นวิธีไหนก็ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของแพทย์และทีมงานเป็นหลักสำคัญ เพื่อหลีกเลี่ยงโอกาสที่จะปลูกผมไม่ขึ้น

ปลูกผม FUE และ FUT ไม่ขึ้นมีโอกาสพบได้บ่อยกว่าเทคนิค DHI เนื่องจากวิธีการเจาะนำกราฟผมออกมามีความเสี่ยงทำลายรากผมมากกว่า จึงต้องทำอย่างถูกวิธี หากทำโดยแพทย์ที่ไม่มีความชำนาญ ก็จะทำให้กราฟผมได้รับความเสียหาย และทำให้ปลูกผมไม่ขึ้นได้ รวมไปถึงกราฟผมที่ได้จากการปลูกผม FUE และ FUT ยังอ่อนแอมากกว่า จึงต้องอาศัยทักษะและความชำนาญเป็นพิเศษจากแพทย์และทีมงาน

สำหรับปลูกผม FUT ก็อาจมีโอกาสปลูกผมไม่ขึ้นได้เช่นกัน หากทำโดยแพทย์และทีมงานที่ไม่มีความเชี่ยวชาญมากพอ เช่น ในขั้นตอนของการนำกราฟผมมาตัดแบ่งเพื่อนำไปปลูกผม หากตัดแบ่งแบบไม่ระมัดระวัง อาจตัดโดนรากผมจนทำให้กราฟผมได้รับความเสียหาย ทำให้ปลูกผมแล้วไม่ขึ้นได้

3. กราฟผมที่นำมาปลูกไม่แข็งแรง
กราฟผม หรือ กอผม คือเส้นผมที่แพทย์จะต้องนำออกมาเพื่อใช้ในการปลูกผม และต้องเลือกใช้แต่กราฟผมบริเวณท้ายทอยหรือกกหู ซึ่งเป็นเซลล์รากผมที่มีความแข็งแรงมากที่สุด และไม่มีผลต่อฮอร์โมน DHT ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เป็นสาเหตุของผมร่วง

สำหรับกราฟผมนั้นจะมีเนื้อเยื่อติดอยู่ และมีความบอบบางอ่อนแออยู่ก่อนแล้ว ดังนั้น ในขั้นตอนของการนำกราฟผมออกมา หากมีความเสียหายเกิดขึ้น จะส่งผลให้กราฟผมที่นำไปปลูกผมตายได้ และทำให้เป็นสาเหตุของปลูกผมไม่ขึ้น

4. ระยะเวลาปลูกผมนานเกินไป
โดยทั่วไปแล้ว ในการปลูกผมจะใช้เวลาประมาณ 3-8 ชั่วโมง ทั้งนี้ระยะเวลาขึ้นอยู่กับเทคนิคที่ใช้ในการปลูกผม ซึ่งกราฟผมไม่ควรจะอยู่ภายนอกร่างกายนานเกินไป เพราะจะทำให้กราฟผมเสื่อมสภาพและส่งผลให้ปลูกผมแล้วไม่ขึ้นได้

เนื่องจากเซลล์รากผมหากขาดความชุ่มชื่น เซลล์รากผมอาจตายได้ รวมไปถึงเมื่อเซลล์รากผมอยู่ภายนอกร่างกาย จะยังทำงานตามปกติอยู่ แต่หากอยู่นานเกินไป สารอาหารก็จะหมดลง ทำให้เซลล์รากผมตายได้เช่นกัน

ฉะนั้น ทางแก้ปัญหาเพื่อยืดอายุให้เซลล์รากผมคือ การนำกราฟผมแช่ในน้ำยาแช่กราฟ ซึ่งต้องใช้เป็นเกรดเดียวกันกับน้ำยาแช่อวัยวะที่สำหรับรอการปลูกถ่าย แต่ก็ไม่ควรให้เซลล์รากผมอยู่นอกร่างกายนานเกินไป แพทย์จึงต้องทำงานแข่งกับเวลา เพื่อรักษาคุณภาพของเซลล์รากผมให้สมบูรณ์มากที่สุด

โดยน้ำยาแช่กราฟท์ของทางคลินิกใช้รวมกันถึง 2 แบบ แบบที่ 1 นั้นเป็นแบบที่สำหรับเพื่อรักษาอวัยวะ ใช้ในการปลูกถ่ายอวัยวะ และ แบบที่ 2 ใช้สำหรับการรักษารากผม เนื้อเยื่อ และให้อาหารสำหรับรากผม เพื่อการย้ายไปปลูกในลำดับต่อไป

5. อุปกรณ์ที่ใช้ปลูกผมไม่ได้มาตรฐาน
สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ในการปลูกผมควรเป็นอุปกรณ์พิเศษ ที่ทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อใช้ปลูกผมเท่านั้น และต้องเป็นอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน ทางคลินิกเราใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า Implanter pen ที่เป็นการพัฒนาจากเทคนิค FUE และพัฒนาจากหุ่นยนต์ที่ใช้สำหรับปลูกผม ซึ่งอุปกรณ์นี้สะดวกและมีความแม่นยำสำหรับคุณหมอมากกว่า

นอกจากนี้น้ำยาหรือยาต่าง ๆ ที่ใช้ก็ต้องมีมาตรฐานด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่าง น้ำยาแช่กราฟ ควรเป็นน้ำยาตัวเดียวกับน้ำยาที่ใช้แช่อวัยวะสำคัญก่อนการปลูกถ่ายอวัยวะ, ยานอนหลับ หรือยาชา ก็ต้องมีคุณภาพ เพื่อให้ออกฤทธิ์ดี ผลข้างเคียงน้อย หากไม่ได้ใช้ยาเฉพาะ หรือไม่ได้ใช้อุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน จะส่งผลต่อความแข็งแรงของรากผม ทำให้ปลูกผมไม่ขึ้น อีกทั้งยังทำให้ผู้เข้ารับการรักษาเสี่ยงที่จะได้รับอันตราย หรือติดเชื้อระหว่างผ่าตัดด้วย

6. การดูแลหลังผ่าตัดปลูกผมไม่ดีพอ
การดูแลตัวเองหลังปลูกผม เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะหากไม่ระมัดระวัง หรือละเลยการดูแลตัวเองตามคำแนะนำของแพทย์ อาจทำให้เป็นสาเหตุของปลูกผมแล้วไม่ขึ้นได้ โดยเฉพาะในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังปลูกผม เป็นช่วงเวลาที่รากผมยังไม่เชื่อมติดกับเนื้อเยื่อโดยรอบ ถ้าดูแลตัวเองได้ไม่ดีพอ จะทำให้กอรากผมหรือกราฟผมที่ปลูกไปหลุดออก จนปลูกผมไม่ขึ้น หรืออาจจะทำให้เกิดการอักเสบ ติดเชื้อ จนรากผมเสียหายได้
ดังนั้น ในช่วงเวลา 14 วันหลังปลูกผม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ดูแลตัวเองอย่างเคร่งครัด ดังนี้

  • ไม่ควรเกา หรือแกะแผลปลูกผม
  • ไม่ควรถูบริเวณแผลปลูกผม และระมัดระวังไม่ให้ได้รับการกระแทก
  • สระผมให้ถูกวิธีตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่คลินิก

7. ปลูกผมไม่ขึ้นแบบหาสาเหตุไม่ได้
สาเหตุอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นหลังจากปลูกผมไปแล้ว อาจส่งผลกระทบทำให้ปลูกผมแล้วไม่ขึ้น อย่างโรคประจำตัวของผู้เข้ารับการปลูกผม เช่น โรคเบาหวาน, โรคไทรอยด์ รวมไปถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิต อย่างการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ซึ่งจะส่งผลให้ไปขัดขวางการไหลเวียนของเลือดที่จะไปเลี้ยงเซลล์รากผม

รวมไปถึงสาเหตุที่ยังไม่ทราบแน่ชัด เกี่ยวกับภาวะ X Factor ที่ทางการแพทย์สันนิษฐานไว้ว่าเป็นภาวะที่ร่างกายปฏิเสธเนื้อเยื่อ หรือปฏิเสธการปลูกผมนั่นเอง เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายคิดว่าการปลูกผมเป็นสิ่งแปลกปลอม ส่งผลให้ไม่มีเลือดไปเลี้ยงรากผม จึงเป็นสาเหตุทำให้ปลูกผมแล้วไม่ขึ้น

แต่การเกิดภาวะ X Factor พบได้น้อยมาก เพราะกราฟผมที่นำมาใช้เป็นเส้นผมของผู้เข้ารับการปลูกผมเอง ไม่ใช่สิ่งแปลกปลอม ไม่ใช่เส้นผมของคนอื่น จึงทำให้เกิดภาวะที่ร่างกายจะปฏิเสธได้น้อย หรือแทบไม่มีโอกาสเกิดขึ้นเลย

ทั้งนี้ในปัจจุบัน ภาวะ X Factor ยังเป็นที่ถกเถียงในวงการแพทย์อยู่ว่าเกิดขึ้นจริงหรือไม่ ซึ่งในกรณีที่บอกว่าปลูกผมไม่ขึ้นจากภาวะ X Factor อาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ X Factor ก็เป็นไปได้

8. ปลูกผมไม่ขึ้นทำอย่างไร

ติดต่อกับทางคลินิกถ้ายังอยู่ในระยะเวลารับประกัน โดยทางคลินิกเรามีการรับประกันความพอใจใน 1 ปี ถ้าผมขึ้นแล้วแต่ยังไม่แน่นหรือมีช่องว่างอย่างมีนัยสำคัญทางคลินิกก็จะรับผิดชอบในการปลูกซ้ำให้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายอีกด้วยค่ะ